วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

-รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
-พฤติกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
-การประยุคใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
    
 รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
       เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานเป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1.เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายวีดีทัศน์ เครื่องเอ็กซเรย์
2.เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นเครื่องบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตร ATM
3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์
4.เทคโนโลยีที่ใช้แสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
5.เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิลล์
6.เทคโนโลยีสำหรับการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ ระบบกระจายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระบบใกล้และไกล

 ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
       มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจ และทางการศึกษา ตัวอย่างเช่น
-ระบบATM
-การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
-การลงทะเบียนเรียน

พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะรัย
       การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

การใช้อินเทอเน็ต
       งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาพบว่า
         นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่าความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถาบัน
   ใช้อินเทอร์เน็ต ทำอะรัยได้บ้าง?
 -งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด นอกจากนั้นงานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบการทำรายงาน
    สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยยีสารสนเทศ
 -งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเทอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
       นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบใหนบ้าง?
    งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์ e-Learning วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand) หนังสือิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-การเรียนรู้แบบออนไลน์(e-Learning)
-บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction - CAI)
-วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book)
-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์(e-library)

       การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหา
ของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียน
ผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learning for all : anyone, anywhere and anytime)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และ/หรือ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ  โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน 

              วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า “To view what one wants, when one wants”. โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunications Networks)ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Video Client)สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการ และสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้น ๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราว(pause)ได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้
             หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books ) 

คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออร์แกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล e-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะไฟล์ของ e-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง e-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)

              ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library)
เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้ คือ

1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์















วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับครู
Information and Communication Technology for Teachers
รหัส PC 54504      3(2-2-5)
คำอธิบายรายวิชา
       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เคื่องมือและการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
         สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้ที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
สารสนเทศ มีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
-สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาใช้ประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
-เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(IT)เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทศ หรือ ICT
-องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
   
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 
      คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเติร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
  1.1เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณืต่อพ่วงเชื่อมโยงจำ แนกตามหน้าที่การทำงานเป็น 4 ส่วน คือ
      -หน่วยรับข้อมูล
      -หน่วยประมาลผลกลางหรือ CPU(Central Processing Unit)
      -หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
      -หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)
  1.2เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software)
       หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
      -ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หรือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์ทำงานตามคำสั่ง
      -ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

  2.เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม 
     หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และ ระบบสือสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

  ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
   -แผนพัฒนาเศรษษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับบที่ 4 (พ.ศ.2520 - 2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา
   -มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
   -ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับบที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
   -ในแผน 9 มีการจัดทำ แผนหลัก เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
   
       แผนพัฒนาข้างๆต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติความเท่าเทียมกันทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
   
 พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
  -ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transection Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
  -ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมการดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะฆ์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
  -ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
  -ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือ ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

     ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
     -ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
     -ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
     -ใช้ประกอบการตัดสินใจ
     -ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือ เหตุการที่จะเกิดขึ้น
     -เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ

       *สรุป
       การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบจัดการห้องสมุด ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเติร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

assignment1


คาดหวังอยากจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันได้โดยชำนาญ และนำประโยชน์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างดีเยี่ยม

เทคโนโลยี หมายถึง การประยุคความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้